โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ  UTHM ประเทศมาเลเซีย อบรมเชิงปฏิบัติการ PEEP พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน และงานวิจัยร่วมกัน | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมกับ  UTHM ประเทศมาเลเซีย อบรมเชิงปฏิบัติการ PEEP พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน และงานวิจัยร่วมกัน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 มีนาคม 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 679 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ University Tun Hussein Onn Malaysia (UTHM) ประเทศมาเลเซีย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Professional Educator Enhancement Program (PEEP)” ระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคม 2567ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการที่มีร่วมกัน โดย UTHM ได้จัดส่งทีมวิทยากรจาก Centre of Research Sustainable Professional Education for Excellent Development (COR-SPEED) มาดำเนินการฝึกอบรมคณาจารย์ ณ ห้อง Innovation ขั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มทร.ล้านนา  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และเทคนิคทางด้านการจัดการเรียนการสอน รวมถึงด้านการทำงานวิจัย Quantitative Research โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณาจารย์ทางด้านครุศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์ และกลุ่มอาจารย์ที่ทำงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 40 คน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประชา ยืนยงกุล ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ทั้งนี้ทีมงานวิทยากรจาก Centre of Research Sustainable Professional Education for Excellent Development (COR-SPEED) ประเทศมาเลเซียประกอบด้วย
1.Dr. Nur Sofurah Mohd Faiz
2.Assoc. Prof. Ts. Dr. Yee Mei Heong
3.Dr. Nurul Hidayah Liew Abdullah
4.Dr. Hashima Hamid
5.Assoc. Prof. Ts. Dr. Tee Tze Kiong
6.Dr. Zulfadli Rozali
7.Assoc. Prof. Dr. Badaruddin Ibrahim
   ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน ได้กล่าวว่า “สำหรับ มทร.ล้านนา การจัดการศึกษาหรือการจัดเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่เราได้เรียนรู้วิธีจัดการเรียนการสอนใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ ของ University Tun Hussein Onn Malaysia (UTHM) ประเทศมาเลเซีย ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอาจารย์ ได้เป็นอย่างดี วันนี้เราก็ได้อาจารย์ทางด้านครุศาสตร์ และทางด้านศิลปศาสตร์เข้ามาทำกิจกรรม Workshop ร่วมกันและเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้จะได้เทคนิค วิธีการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยของเราอย่างแน่นอน”








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา